วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ปัญหาและข้อควรระวังในการใช้อินเทอร์เน็ต

1.1 การใช้เครือข่าย อินเทอร์เน็ตร่วมกับบุคคลอื่น
ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันสูงมาก จนทำให้วิถีการทำงาน และการดำเนินชีวิตของคน
เปลี่ยนแปลงไป จนทำให้คนจำนวนไม่น้อยใช้เวลาในโลกของการออนไลน์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต พอ ๆ กับที่ใช้เวลาทำสิ่งต่าง ๆ บนโลกจริง หรือหลายคนอาจจะมากกว่า อินเทอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายเปิดที่ใครๆ
ก็สามารถเข้าไปใช้งานได้  จึงเป็นเรื่องยากที่จะควบคุมการใช้งานของผู้ที่จะเข้าไปใช้อินเทอร์เน็ตได้
มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต   เรียกว่าบัญญัติ 10 ประการของการใช้อินเทอร์เน็ตก็ได้   
โดยอาจารย์ยืน ภู่วรวรรณ   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร
ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากการกระทำของท่าน
ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท
1.2 ปัญหาและข้อควรระวังในการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  ข้อควรระวังในการใช้งานอินเทอร์เน็ต
ในสังคมอินเทอร์เน็ตนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดีเช่นเดียวกับสังคมทั่วไปผู้ที่ไม่ระมัดระวังจึงอาจถูกล่อลวงไปในทางที่ผิด
หรือก่อให้เกิดอันตรายได้ฉะนั้นเยาวชนไทยควรเรียนรู้ปัญหาและวิธีป้องกันตนเองจากภัยอันตรายเหล่านี้จากผู้ 
ใช้อินเทอร์เน็ตควรยึดถือปฏิบัติ  ดังนี้
1. ไม่บอกข้อมูลส่วนตัว  เช่น  ที่อยู่  เบอร์โทรศัพท์  ชื่อโรงเรียนของตนให้แก่บุคคลอื่นที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต
2. หากพบข้อความหรือรูปภาพใดๆบนอินเทอร์เน็ตที่มีลักษณะหยาบคายหรือไม่เหมาะสมควรแจ้งใหผู้ปกครองทราบทันที่
3. ไม่ควรไปพบบุคคลใดก็ตามที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน  และหากผู้ปกครองอนุญาต
ก็ควรไปพร้อมกับผู้ปกครอง และควรไปพบกันในที่สาธารณะ
4. ไม่ส่งรูปหรือสิ่งใดๆ ให้บุคคลที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
5. ไม่ตอบคำถามหรือต่อความกับผู้ที่สื่อข้อความหยาบคาย  และต้องแจ้งให้ผู้ปกครองทราบทันที่ 
6. ควรคารพต่อข้อตกลงในการใช้อินเทอร์เน็ตที่ให้กับผู้ปกครอง เช่น กำหนดระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต เว็บไซต์
ที่ผู้ปกครองอนุญาตให้เข้าได้

ในด้านข้อเสีย  แพทย์พบว่าการเล่นเกมติดต่อกันครั้งละนานๆ  มีผลเสียต่อสุขภาพปัญหาที่พบบ่อยคือ  อาการล้าของสายตา
 กล้ามเนื้อที่แขน  คอ  ไหล่ และหลัง นอกจากนี้ยังพบอาการ ลมชัก ปวดศีรษะ  ประสาทหลอน  บางรายมีอาการรุนแรงเข้าขั้นประสาทและกล้ามเนื้อบางส่วนเสื่อมสภาพไปและเชื่อกันว่าการติดเกมเป็นสาเหตุทางอ้อมของโรคอ้วน  เด็กบางคน
ที่หมกมุ่นอยู่กับการเล่นเกมมากเกินไป จนไม่สนใจเพื่อนๆ  และสังคมรอบข้าง ในที่สุดจะกลายเป็นคนขี้อายและตัดขาดจากสังคมปัญหาอีกประการหนึ่งเกิดจากเกมประเภทที่มีการใช้ความรุนแรงเกมประเภท
นี้ทำให้เด็กมีนิสัยก้าวร้าว เข้ากันกับเพื่อนๆ  ไม่ได้ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของครูและผู้ปกครองจะต้องชี้แน ะให้เด็กรู้
ถึงข้อดีและข้อเสียของการเล่มเกม  และแนะนำให้เด็กรู้จักเลือกเกมที่ให้ประโยชน์มากกว่าความสนุกเพียงอย่างเดียว 

2.1 การป้องกันเครื่องคอมพิวเตอร์จากไวรัส
ไวรัส (Viruses) คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งที่ถูกออกแบบมาให้แพร่กระจายตัวเองจากไฟล์หนึ่งไปยังไฟล์อื่นๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ไวรัสจะแพร่กระจายตัวเองอย่างรวดเร็วไปยังทุกไฟล์ภายในคอมพิวเตอร์ หรืออาจจะทำให้ไฟล์เอกสารติดเชื้ออย่างช้าๆ แต่ ไวรัสจะไม่สามารถแพร่กระจายจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งได้ด้วยตัวเอง

โดยทั่วไปเกิดจากการที่ผู้ใช้เป็นพาหะ นำไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง เช่นเวลาที่ส่ง e-Mail โดยแนบเอกสาร หรือไฟล์ที่มีไวรัสไปด้วย, การทำสำเนาไฟล์ที่ติดไวรัสไปไว้บนไฟล์เซริฟเวอร์, การแลกเปลี่ยนไฟล์โดยใช้แผ่นดิสก์เก็ต เมื่อผู้ใช้ทั่วไปรับไฟล์ หรือดิสก์มาใช้งาน ไวรัสก็จะแพร่กระจายภายในเครื่อง และจะเป็นวงจรในลักษณะนี้ต่อไป

แม้ว่าจะมีไวรัสหลายพันชนิด แต่ไวรัสส่วนใหญ่อยู่ในห้องทดลองคอมพิวเตอร์ มีไวรัสเพียงประมาณ 500 กว่าชนิดที่ยังอาละวาดอยู่ และส่วนใหญ่ไวรัสเหล่านี้แทบจะไม่มีอันตรายต่อคอมพิวเตอร์และข้อมูล เพียงแต่อาจจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงด้วยการแย่งใช้หน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามมีวิธีง่ายๆที่จะช่วยป้องกันเครื่องคอมพิวเตอร์และข้อมูลจากไวรัส

ใช้โปรแกรมตรวจจับและกำจัดไวรัส (anti-virus) อย่างไรก็ตามไม่มีโปรแกรมตรวจจับและกำจัดไวรัส โปรแกรมใดสมบูรณ์แบบการเตือนที่ผิดพลาดว่ามีไวรัสก่อให้เกิดความรำคาญพอๆกับตัวไวรัสเอง
อย่าลืมว่าจะต้อง update โปรแกรมที่ใช้ตรวจจับและกำจัดไวรัสอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ครอบคลุมถึง ไวรัสชนิดใหม่ๆ
scan ทุกไฟล์บนดิสก์และ CD-ROM ก่อน นำลง hard disk
scan ทุกไฟล์ที่ download มาจาก internet
scan ไฟล์หรือโปรแกรมที่ติดมากับ e-mail ก่อนที่จะเปิดอ่านหรือเก็บลงบน hard disk
เก็บเอกสารในรูปของ ASCII Text Mode หรือ Rich Text Format (RTF) โดยเฉพาะเอกสารที่ใช้ ร่วมกันบน network   ทั้งสอง  format  จะไม่ save ส่วนที่เป็น macro  ลงพร้อมกับเอกสารด้วยซึ่งทำให้ปลอดภัยจาก macro viruses
back up ข้อมูลและโปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างสม่ำเสมอและที่สำคัญอย่าเก็บ back up ไว้ใน hard disk อันเดียวกันกับข้อมูลและโปรแกรมจริง
สำหรับเครื่องที่มีฮาร์ดดิสก์ อย่าเรียกดอสจากฟลอปปีดิสก์
ป้องกันการเขียนให้กับฟลอปปีดิสก์
อย่าเรียกโปรแกรมที่ติดมากับดิสก์อื่น
เสาะหาโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใหม่และมากกว่าหนึ่งโปรแกรมจากคนละบริษัท
เรียกใช้โปรแกรมตรวจหาไวรัสเป็นช่วง ๆ
เรียกใช้โปรแกรมตรวจจับไวรัสแบบเฝ้าดูทุกครั้ง เลือกคัดลอกซอฟแวร์เฉพาะที่ถูกตรวจสอบแล้วใน บีบีเอส
เตรียมฟลอปปีดิสก์ที่ไว้สำหรับให้เรียกดอสขึ้นมาทำงานได้ เมื่อเครื่องติดไวรัส ให้พยายามหาที่มาของไวรัสนั้น


2.2 การรักษาความปลอดภัยในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ควรมีการตรวจจับไวรัสในข้อมูลหรือโปรแกรมทุกๆ อย่างที่นำมาจากอินเทอร์เน็ตโดยติดตั้งโปรแกรมตรวจจับไวรัส
ที่เครื่องคอมพิวเตอร์  และควรให้โปรแกรมตรวจจับไวรัสทำงานอยู่เสมอๆ สำหรับการใช้งานโปรแกรมตรวจจับไวรัส
นั้นควรมีการปรับปรุงอยู่เสมอๆเพื่อเพิ่มความสามารถในการตรวจจับไวรัสใหม่ๆ ได้ด้วย

ข้อแนะนำเบื้องต้นในการใช้คอมพิวเตอร์ และเครือข่ายอย่างปลอดภัยมีดังนี้ 
 - เมื่อเริ่มใช้อินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ควรปรึกษาผู้ใหญ่เกี่ยวกับแนวทางในการ ใช้ในการใช้อินเทอร์เน็ตต่อวัน
และเมื่อผู้ใช้มีความรู้ และคุ้นเคยในการใช้งานจริงบ้าง แล้ว จึงค่อยปรับเปลี่ยนแนวทางในใช้เวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต
ให้เหมาะสมต่อไป และ ควรเขียนแนวทางในการใช้อินเทอร์เน็ตติดไว้ใกล้กับคอมพิวเตอร์ เพื่อความสะดวกใน

การจัดระบบการใช้อินเทอร์เน็ต

- อย่าให้รหัสลับแก่ผู้อื่น
- ปรึกษาผู้ใหญ่ก่อนทุกครั้งที่จะทำการลงทะเบียนใด ๆ บนอินเทอร์เน็ต
- ไม่ควรให้ข้อมูลใด ๆ กับผู้ที่ไม่รู้จัก โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับระบบรักษา ความปลอดภัย สำหรับนิสิตผู้ใช้
- ไม่ควรให้ข้อมูล ชื่อ ที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์กับบุคคล ที่ไม่เคยรู้จักตัว
- ไม่ควรดาวน์โหลดโปรแกรมจากแหล่งข้อมูลที่ไม่รู้จัก หรือถ้าได้รับโปรแกรม ที่ส่งมาให้ทดลองจากคนไม่รู้จัก 
ไม่ควรที่จะเรียก รันบนเครื่องคอมพิวเตอร
- ไม่เปิดเครื่องที่ login ค้างไว้ โดยที่ตัวเองไม่อยู่ที่โต๊ะทำงาน
- ควรมีการสแกนไวรัสอย่างสม่ำเสมอ
- ทำสำเนาข้อมูลไว้อย่างสม่ำเสมอ
- อย่าเปิดเอกสารหรืออีเมลล์หรือไฟล์ จากบุคคลอื่นที่ไม่รู้จัก เพราะอาจมีไวรัส หรือข้อมูลไม่เหมาะสม
  มากับเอกสารหรืออีเมลล์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น